· documentation · 3 min read

ทำความรู้จักกับ Frappeverse

ทำความรู้จักกับ อดีต ปัจจุบัน และอนาคต ของ ERPNext และ Frappeverse

ทำความรู้จักกับ อดีต ปัจจุบัน และอนาคต ของ ERPNext และ Frappeverse

การเลือกใช้ ERP ซักตัวหนึ่งสำหรับองค์กร ถือเป็นการลงทุนสูงพอสมควร ต่อให้ได้เลือกใช้ Open Source ERP ที่ไม่มีค่า License ไม่จำกัดจำนวนผู้ใช้งาน และได้เป็นเจ้าของระบบทั้งหมดจริงๆก็ตาม ค่าบริการของที่ปรึกษาที่มาช่วยวางระบบก็ยังเป็นต้นทุนที่สูง หากโครงการล้มเหลว การจะเปลี่ยนหรือถ่ายโอนข้อมูลไปยังระบบอื่นเป็นเรื่องที่มาพร้อมกับต้นทุนที่สูงยิ่งกว่า หลายคนจึงบอกว่าการเลือก ERP เปรียบเหมือนกับการเลือกคู่ครองเลยทีเดียว

ในบทความนี้เราจึงอยากพาทุกท่านที่สนใจและอยากใช้งาน ERPNext ว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร และในระยะยาว ซอฟต์แวร์จัดการองค์กรตัวเก่งนี้จะยังสดใสอยู่ไหม

หลายคนอาจรู้จักกับ ERPNext บางคนเคยได้ยินคำว่า Frappe และเกือบทุกคนคงไม่รู้จักกับคำว่า Frappeverse ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับบริษัท Frappe Technologies ที่เป็นผู้สร้าง ERPNext กันดีกว่า

ตอนเริ่มต้นบริษัทนี้ชื่อว่า Web Notes ปณิธานตั้งแต่แรกเริ่มคือการสร้าง ผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์ โดยยังไม่ได้คิดถึงโดเมนหรือตลาดเฉพาะเจาะจง แนวคิดเบื้องหลังของชื่อนี้คือแนวคิดที่ว่าเว็บเต็มไปด้วย การบันทึกข้อมูล (Notes) ซึ่งตอนนั้นฟังดูไร้เดียงสามาก และชื่อนี้ตอนนั้นก็ยังไม่สมเหตุสมผลหรือฟังดูดีพอ

ตอนนี้เรารู้กันแล้วว่า ERPNext เป็นชื่อแบรนด์ที่ถูกใช้ในปัจจุบัน แต่ตอนนั้นเป็นเพียงระบบที่ใช้ภายใน Web Notes เองมีชื่อโดเมนว่า frappe.erpnext.com ซึ่งอาจจะเกิดจากการอัปเกรดเวอร์ชั่นจาก brownie.erpnext.com หรือไม่ไม่มีใครจำได้ แต่แล้วชื่อ Frappe ก็ติดปาก เนื่องจากแนวทางของบริษัทคือการสร้าง Framework แบบ Low Code ที่เอาไว้สร้างแอปพลิเคชั่นต่ออีกที

Frappe จึงเป็นคำที่ดีมากในการสรุปสิ่งที่บริษัททำนั่นคือ Framework + Applications = Frappe โดยมี ERPNext จุดเริ่มต้น หลังจากนั้นบริษัทเปลี่ยนชื่อเป็น Frappe Techonologies และใช้เวลาเกือบ 15 ปีในการสร้างพัฒนาแอปพลิเคชั่นแรกซึ่งก็คือ ERPNext ที่สร้างรายได้ที่ยั่งยืนให้กับบริษัท

นับตั้งแต่ที่ Frappe Technologies มีรายได้พอให้ได้หายใจคล่องขึ้นแล้ว ในปี 2018 บริษัท Frappe Technologies เริ่มต้นทดลองสร้าง แอปพลิเคชั่น ใหม่โดยเริ่มจาก ERPNext เวอร์ชั่น Desktop ชื่อว่า Frappe Books ซึ่งยังอยู่ในโดเมนเดียวกันคือ ERP จนประสบความสำเร็จ นับจากวันนั้นบริษัท Frappe Technologies ก็ได้สร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ๆอย่างต่อเนื่องและรวดเร็วได้ด้วย Frappe Framework (Low Code / No Code)

การเกิดขึ้นของ Frappeverse

ในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา กระบวนการพัฒนาแอปใหม่ๆเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว และตอนนี้ก็มีผลิตภัณฑ์มากมายที่บริษัท Frappe Technologies ใช้คำเรียกรวมๆว่า Frappeverse และทั้งหมดนี้ก็คือรายการผลิตภัณฑ์ทั้งหมดที่บริษัท Frappe Technologies ได้เริ่มต้นแล้วและจะทำต่อไปในอนาคต

  1. Framework (2005): เริ่มต้นจากการเป็นอุปกรณ์ช่วยส่วนตัวโปรแกรมเมอร์ เพื่อให้สามารถสร้างแอปพลิเคชันอย่างรวดเร็วได้โดยตรงจาก UI ด้วย Model และ Backend ที่กำหนดค่าโดยอัตโนมัติ (ได้รับแรงบันดาลใจจาก semantic web) ต่อมาได้พัฒนาจนกลายเป็นสถาปัตยกรรมหลักของ Applicaiton ทั้งหมดที่ตามมาภายหลัง

  2. ERPNext (2008): คือระบบการจัดการองค์กร (ERP) เต็มรูปแบบที่สร้างบน Frappe Framework ประกอบด้วยระบบต่างๆมากมาย การบัญชีการเงิน การออกใบแจ้งหนี้ การจัดการคำสั่งซื้อ การจัดการสินค้าคงคลัง การจัดซื้อ โครงการ ฯลฯ ซึ่งนี่อาจจะเป็น ERP แบบโอเพ่นซอร์สแท้ๆ ที่ดีที่สุด ครอบคลุมที่สุด มีประสิทธิภาพและค่าบำรุงรักษาต่ำที่สุดในปัจจุบัน

    Note: หากเทียบกับ Odoo ซึ่งเป็นโอเพ่นซอร์สก็จริงแต่ไม่ทั้งหมด และมีค่าบำรุงรักษาที่สูงกว่า และอัพเกรดยากกว่า ERPNext

  3. Frappe HR (2010): เพิ่งแยกตัวจาก ERPNext โดย Frappe HR เป็นระบบบริหารจัดการบุคลากรที่มีคุณสมบัติครบครัน พร้อมด้วยบัญชีเงินเดือน การจัดการวันลา การสรรหาบุคลากร และอื่นๆ อีกมากมาย และล่าสุดนี้มี Mobile แอปพลิเคชั่น สำหรับพนักงานในการเช็คอิน ขอลา และส่งคำขอเบิกค่าใช้จ่ายต่างๆ

  4. Books (2018): ระบบบัญชีสำหรับธุรกิจขนาดเล็กที่สามารถใช้งานแบบ Offline ได้ เสมือนเป็น ERPNext เวอร์ชันเล็กที่เขียนด้วย Javascript สำหรับทำงานบนเดสก์ท็อป โปรเจคนี้คือการทดลองแนวคิด UI ใหม่ก่อนที่ถูกใช้ในแอปพลิเคชั่นอื่นๆ ปัจจุบันนี้ได้รับการดูแลโดยชุมชน

  5. Health (2018): ระบบการจัดการด้านการดูแลสุขภาพที่สร้างโดยทีมงาน Earthians ถูกรวมเข้ากับ ERPNext โดยเป็นส่วนหนึ่งของแนวทางรวมศูนย์ (Monolith) ที่ต้องการรวมทุกฟังก์ชั่นงานไว้ใน ERPNext แต่ต่อมาในปี 2020 แยกกลับเป็นแอปพลิเคชันแยกต่างหาก จากการเปลี่ยนเป็นแนวทาการแยกฟังก์ชั่นงานเป็นโมดูลย่อย (Modular) คล้ายกับฝั่ง Odoo (แต่ไม่ย่อยแบบ Odoo) ปัจจุบันได้รับการดูแลจากชุมชน

    Note: จะเห็นได้ว่า Frappe Framework มีความสมารถด้าน Modularity เช่นเดียวกับ Odoo เพียงแต่แนวทางการพัฒนาไม่เหมือนกันทีเดียว

  6. Education (2018): ระบบการจัดการด้านการศึกษา ช่วยให้โรงเรียนและวิทยาลัยเก็บรักษาข้อมูลนักเรียน กลุ่ม ค่าธรรมเนียม การเข้าเรียน การประเมิน และอื่นๆ อีกมากมาย ต่อมาแยกเป็นผลิตภัณฑ์แยกต่างหากในปี 2022

  7. Press (2020): ระบบการจัดการคลาวด์ที่สร้างขึ้นเพื่อรองรับ Frappe Framework และ ERPNext จำนวนมาก นี่เป็นเวอร์ชันที่ 3 ของ Press และสนับสนุนการใช้งานแบบ Container, Marketplace และ Deployment สำหรับ 3rd Party Applicaiton รวมทั้งยังมีโมดูลสำหรับ Marketplace Billing

  8. Wiki (2020): เครื่องมือสำหรับจัดการเอกสารขนาดใหญ่ เอกสารสอนใช้งาน Framework และ ERPNext เองก็เขียนด้วย Frappe Wiki ในปี 2023 มีการปรับโครงสร้างใหม่โดยมีความสามารถในการเก็บเอกสารได้หลายเวอร์ชันและ UI/UX เป็นไปตามระบบรูปแบบการออกแบบ Espresso

  9. Lending (2020): Frappe Lending เริ่มต้นจากระบบสินเชื่อที่อย่างง่ายสำหรับพนักงาน จนปัจจุบันกลายเป็นระบบการจัดการสินเชื่อที่มีคุณสมบัติครบถ้วน ซึ่งช่วยให้ผู้ให้กู้จัดการได้อย่างครบครบวงจรตั้งแต่การขอสินเชื่อ การเบิกจ่าย การคำนวณดอกเบี้ย การเรียกเก็บเงิน และอื่นๆ อีกมากมาย

  10. Learning (2021): ระบบบริหารจัดการการเรียนรู้ (LMS) เพื่อรักษาหลักสูตร นักเรียน ชั้นเรียน ตารางเวลา และอื่นๆ สิ่งนี้ถูกสร้างขึ้นสำหรับ mon.school และปรับใช้ในภายหลังที่ frappe.school

  11. Helpdesk (2021): แอปพลิเคชันที่สร้างขึ้นเพื่อให้การสนับสนุนลูกค้า พร้อมประสบการณ์ผู้ใช้ที่เหนือกว่า โปรเจ็กต์นี้เริ่มต้นในปลายปี 2021 แต่เขียนใหม่ในปี 2023 บน Frappe UI

  12. Drive (2021): ระบบการจัดการเอกสารสมัยใหม่ที่ช่วยให้สามารถจัดเก็บไฟล์ จัดระเบียบไฟล์เป็นโฟลเดอร์ แชร์ แก้ไขเอกสาร สเปรดชีต ฯลฯ เริ่มต้นจากโครงการที่มีความทะเยอทะยานที่จะมาแทนที่ Google Drive แต่สร้างขึ้นโดยนักศึกษาฝึกงานอยู่ 2-3 ปี ถูกเขียนใหม่ใน Frappe UI ในปี 2023

  13. Frappe UI (2022): Layer ของส่วนประกอบ UI ที่สร้างขึ้นใน VueJS เพื่อสร้างแอปพลิเคชันที่สร้างขึ้นบน Frappe Framework นำเสนออินเทอร์เฟซผู้ใช้ที่เป็นมาตรฐาน เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีประสบการณ์ผู้ใช้ที่ยอดเยี่ยม อินเทอร์เฟซที่สร้างขึ้นจึงมีความจำเป็น เป้าหมายของ Frappe UI คือการเปิดใช้งานการสร้างแอปพลิเคชันคุณภาพสูงหลายรายการบน Framework ระบบการออกแบบใหม่ถูกสร้างขึ้นสำหรับสิ่งนี้ที่เรียกว่า Espresso โดย Timeless (Design Partner)

  14. Gameplan (2022): เครื่องมือสื่อสารโครงการและทีม ในตอนเริ่มต้น ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นผลิตภัณฑ์ทดสอบเพื่อทดลองใช้ UI Component ใหม่

  15. Insights (2022): เครื่องมือสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลและ Business Intelligence ช่วยให้ผู้ใช้สามารถเชื่อมต่อกับแหล่งข้อมูลหลายแหล่ง และสร้างแบบสอบถามด้วยภาพ จากนั้นแสดงในรูปแบบภาพและตารางต่างๆ ลงในแดชบอร์ด สมุดบันทึก ฯลฯ

  16. Builder (2023): Builder ช่วยให้คุณสร้างหน้าเว็บและเผยแพร่หน้าเว็บได้แบบเห็นภาพ รองรับส่วนประกอบไดนามิก เค้าโครง โปรแกรมแก้ไขโค้ด และอื่นๆ อีกมากมาย

  17. Print Designer (2023): Print Designer เป็นเครื่องมือแบบภาพในการออกแบบรูปแบบการพิมพ์สำหรับใบแจ้งหนี้ ฯลฯ เครื่องมือนี้ช่วยให้ผู้ใช้สามารถสร้างรูปแบบที่กำหนดเองได้อย่างสมบูรณ์โดยไม่ต้องเขียนโค้ดใดๆ

  18. Frappe CRM (2023): ระบบ CRM เป็นเรื่องปกติในบริษัทส่วนใหญ่ แต่ไม่มีระบบ CRM แบบโอเพ่นซอร์สที่เรียบง่ายและใช้งานง่าย Frappe CRM มุ่งหวังที่จะเติมเต็มช่องว่างนี้

แล้วทั้งหมดนี้น่าสนใจอย่างไร

นั่นเป็นรายการแอปพลิเคชั่นจำนวนมากถ้าเรารู้ความจริงว่าทีมวิศวกรของ Frappe มีเพียง 25 คนในขณะที่เขียนบทความนี้ บางแอปพลิเคชั่นได้รับการพัฒนามานานกว่า 15 ปี แอปพลิเคชั่นใหม่บางรายการยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น วิธีที่บริษัท Frappe Technologies สร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ๆได้รวดเร็วเพราะเน้นไปที่ ส่วนประกอบที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ บริษัท Frappe Technologies มีชุดบล็อกการสร้างที่แข็งแกร่งอย่าง Frappe Framework, Frappe UI และ Press ซึ่งเป็น Cloud Platform ของตัวเองสำหรับทุกๆแอปพลิเคชั่นใหม่ที่เปิดให้บริการ

นอกจากนี้ Frappe ยังเลือกแนวทางการออกแบบเชิงลึกในช่วงแรก โดยจะมุ่งเน้นไปที่การออกแบบโครงสร้างข้อมูลที่ละเอียดและชัดเจนมากกว่าความง่ายในการใช้งาน ประสบการณ์ของผู้ใช้อยู่ในรายการลำดับความสำคัญตั้งแต่ปี 2023 เมื่อบริษัท Frappe Technologies ลงทุนในระบบการออกแบบใหม่และ UI Components โดยหวังว่าในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าผลิตภัณฑ์เหล่าจะเป็นสุดยอดแอปพลิเคชั่นที่ให้ประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้

100% Open Source

อีกส่วนหนึ่งที่เป็นวัฒนธรรมที่แข็งแกร่งของ Frappe คือความเป็น Open Source 100% โดยไม่มีส่วนประกอบที่ต้องชำระเงินหรือปกปิดซ่อนเร้นใดๆ ไม่เหมือนบริษัทส่วนใหญ่ที่ลงทุนในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในแบบปิด รูปแบบธุรกิจของบริษัท Frappe Technologies คือการให้บริการโฮสติ้งเฉพาะทางระดับโลกสำหรับผลิตภัณฑ์ของบริษัท Frappe Technologies การเป็น Open Source ทำให้ปัญหาต่างถูกแก้ไขได้อย่างรวดเร็ว และ พัฒนาไปข้างหน้าด้วยความต้องการของผู้ใช้งานอย่างแท้จริง ทั้งมีประสิทธิภาพด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่า

อนาคตอันสดใส

ในขณะที่เขียนบทความนี้ บริษัท Frappe Technologies กำลังเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่สองรายการ Frappe Mail วิธีง่ายๆ สำหรับบริษัทต่างๆในการโฮสต์อีเมลด้วยตนเอง และ Chatbot ที่ใช้ LLM ทั่วไปซึ่งสามารถฝึกอบรมได้อย่างง่ายดาย และยังมีผลิตภัณฑ์อื่นๆอีกสองสามอย่างถัดไปที่กำลังสนใจเช่น Frappe Blog, Frappe Ticketing ?

ทั้งหมดนี้จะเห็นได้ถึงความกระตือรือล้นของทีมงานบริษัท Frappe Technologies บริษัทได้เดินทางมาถึงจุดที่พร้อมจะเติบโตไปข้างหน้า ทั้งด้านการเงินและความสามารถด้านเทคโนโลยี และ Ecosoft เองก็เล็งเห็นความนิยมใน ERPNext ที่จะพุ่งสูงขึ้นในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า

แล้วคุณล่ะพร้อมหรือยัง?

by Kitti U.

Back to Blog