· documentation · 2 min read

อธิบายการทำงาน Inventory Routing แบบเข้าใจง่าย (Odoo 12 & 13)

ทำความเข้าใจหลักการทำงานการเคลื่อนย้ายของในคลัง บนระบบ odoo

ทำความเข้าใจหลักการทำงานการเคลื่อนย้ายของในคลัง บนระบบ odoo

หลักการทำงานหนึ่งของ Odoo ซึ่งเข้าใจได้ค่อนข้างยาก (แต่จริงๆแล้วเจ๋งมาก) คือ Inventory Routing หรือการเคลื่อนย้ายของในคลังผ่านกฏเกณฑ์ต่างๆ (Rules)

ถ้าเอาแบบเบื้องต้นสุดๆ สำหรับคนเที่คุ้นเคยกับ Odoo หรือ ERP กันบ้างแล้ว

  • การขายของ (Sales Order) ระบบจะมีการสร้างใบส่งสินค้า (Delivery Order) โดยส่งออกจาก Loc. WH/Stock ไป Loc. Partner Locations/Customers
  • การซื้อ (Purchase Order) ระบบจะมีการสร้างใบรับสินค้า (Receipts) โดยรับเข้าจาก Loc. Partner Locations/Suppliers มาที่ Loc. WH/Stock ไป

แต่อาจมีคนส่วนน้อยที่รู้ว่า สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นด้วย Inventory Routing ที่ Odoo ได้มีการทำ Routes เบื้องต้นเอาไว้ให้แล้ว เพื่อให้ใช้งานได้ โดยไม่ต้องมีความรู้เรื่อง Routing

แต่ถ้ามีความซับซ้อนด้านคลังมากขึ้น ต้องการเคลื่อนย้ายของในคลังให้เป็นอัตโนมัติ ความเข้าใจในการทำงานของ Inventory Routing จะเริ่มมีความสำคัญมากขึ้น ผมลองยกตัวอย่างเคสที่เราอาจคุ้นเคยหรือไม่คุ้นเคยที่เกิดขึ้นจาก Routing นี่แหล่ะ โดยใน Odoo มาตรฐาน โดยเราเพียง config ระบบจะ สร้าง Routing เบื้องหลังการทำงานให้ เช่น

  • Pick / Pack / Ship — ส่งของแบบ 3 ขั้นตอน 1) หยิบ 2) จัด 3) ส่ง
  • Input / Quality Check / Stock — รับของแบบ 3 ขั้นตอน 1) รับ 2) เช็ค 3) เก็บ
  • Make To Order — การที่คำสั่งขาย ทำให้เกิดคำสั่งซื้อ (หรือผลิต) โดยอัตโนมัติ
  • Dropshipping — ขายของโดยให้ส่งของตรงจาก Supplier ไปหา Customer โดยไม่ผ่านคลังของเรา
  • Resupply Warehouse — ให้ Warehouse หนึ่ง auto resupply สินค้าให้กับ อีก Warehouse โดยอัตโนมัติ
  • Resupply Contractor — ส่งของให้ Contractor ช่วยผลิต โดยสรุป Inventory Routing เป็นอะไรที่เจ๋งมาก เพราะหากเราเข้าใจการทำงานของมัน เราสามารถปรับแต่กระบวนการทำงานได้อีกมากมาย

เนื่องจากเรื่อง Routing ยากที่จะเข้าใจในตอนแรก หลังจากนั้นจะไม่ยาก ในตอนนี้ผมจะขอเล่าหลักการใหญ่ๆให้ฟังก่อน แลัวผมจะยกเคสตัวอย่างมาเล่าประกอบเพื่อให้เข้าใจมากยิ่งขึ้นต่อไป

หลักการทั่วไปชอง Rules / Routes

ก่อนอื่น เซตระบบให้เปิดเมนู Routes

เมนู Inventory > Configurations

  1. Routes คือเซตของ Rules โดยแต่ละ route จะถูกเรียกใช้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับว่า route นั้นได้รับการอ้างถึงจากสินค้า (product, product category, sales order line) นั้นๆใน Warehouse นั้นๆหรือไม่
  2. Rules คือหัวใจของเรื่อง โดยเมื่อ Route ของมันเข้าข่ายถูกเลือก Rule ก็จะทำงานตาม action ได้ถูกกำหนดไว้ล่วงหน้า

โดยประเภท action มีดังนี้

  • Pull From - เมือมี demand เกิดขึ้นที่ destination location จะมีการสร้าง stock move เพื่อ pull สินค้านั้นมาจาก source location. ทั้งนี้ demand อาจเกิดได้จาก การขาย (sales order), จุดสั่งซื้อสินค้า (reorder point) หรืออะไรก็ตามที่ทำให้เกิดความต้องการสินค้า
  • Push To - เมื่อมีสินค้าเข้ามาที่ source location มันจะสร้าง stock move เพื่อ push สินค้าไปยัง destination location
  • Pull & Push - เป็นทั้ง pull หรือ push (แล้วแต่กรณีว่า รับเข้าและ push ต่อ หรือส่งออกเลยต้อง pull มา)
  • Buy - สร้าง PO ตามความต้องการ
  • Manufacture - สร้าง MO ตามความต้องการ

และ Supply Method สำหรับ action = Pull From มีดังนี้

  • Take from stock - ใช้สินค้าในสต๊อก
  • Trigger another rule - สั่ง rule ถัดไป
  • Take from stock, if not available, trigger another rule - ใช้สินค้าในสต๊อกก่อน ถ้าไม่มี จึงสั่ง rule ถัดไป

อยากแนะนำว่าให้ท่องหลักการข้างต้นให้ขึ้นใจก่อน ถ้าพอจะจำความหมายของศัพท์แต่ละคำได้แล้ว เรามาศึกษาการทำงานของแต่ละเคสกันดูใน Blog Post ถัดไปครับ :)

  1. เคสมาตรฐาน มีการเซต routes ต่อไปนี้
    • Delivery Order 1 step
    • Receipt 1 step
    • Buy
    • MTO (option)
  2. เคส 3 steps
    • Delivery Order 3 step
    • Receipt 3 step
    • Buy
    • MTO (option)
  3. เคส Dropshipping
  4. เคส Resupply

Ecosoft - Your ERP Partner เราเชื่อใน Open Source เพราะเราเชื่อว่า Source Code ควรถูกเปิดเผยเพื่อให้ทุกคนได้เรียนรู้และนำไปต่อยอดได้ไม่จำกัด เราจึงไม่หยุดพัฒนาตัวเองเพื่อเป็นผู้เชี่ยวชาญใน Software Engineering, Business Process และ Accounting ติดตาม Contributions ของเรากับ OCA ได้ที่ https://odoo-community.org/shop?search=Ecosoft

by Kitti U.

Back to Blog