· documentation · 1 min read

โมดูลซ่อมบำรุง (Maintenance)

บริหารงานซ่อมบำรุงเบื้องต้น ด้วยโมดูลมาตรฐานจาก Odoo

บริหารงานซ่อมบำรุงเบื้องต้น ด้วยโมดูลมาตรฐานจาก Odoo

Source Code: https://github.com/odoo/odoo/tree/12.0/addons/maintenance

Odoo มาตรฐาน มาพร้อมกับโมดูลซ่อมบำรุง (Maintenance) อย่างง่าย โดยโมดูลนี้ถือเป็นโมดูล Stand Alone สามารถติดตั้งได้โดยไม่ต้องอิงกับโมดูลอื่น การทำงานก็ง่ายๆไม่ซับซ้อน โดยจะประกอบไปด้วยส่วนสำคัญต่อไปนี้

  1. Maintenance Team - - ทีมงานซ่อมบำรุง แบ่งเป็นกลุ่มงาน
  2. Equipment - - ข้อมูลอุปกรณ์ วันเริ่มใช้งาน วันหมดประกัน และที่สำคัญคือเป็นของทีมงานซ่อมบำรุงใด
  3. Maintenance Request - - ใบสั่งการซ่อมอุปกรณ์ มี 2 แบบคือ Corrective Maintenance (ซ่อมตามที่เสีย) และ Preventive Maintenance (ซ่อมเชิงป้องกัน จะกำหนดวันซ่อมครั้งถัดไป)
  4. Scheduler - - เพื่อสร้าง Preventive Maintenance Request โดยจะมีการสร้าง Request ให้อัตโนมัติเมื่อ Maintenance Request ก่อนเสร็จสิ้น โดยดูจากกำหนดวันซ่อมครั้งถัดไปใน Equipment

1. Maintenance Team

เมื่อเข้ามาที่เมนู Maintenance Team ระบบจะแสดง Dashboard ของ Maintenance Request โดยแบ่งตาม Maintenance Team

โดยใน 1 Maintenance Team สามารถผูกสมาชิกได้หลายคน

2. Equipment

นอกจากข้อมูล Spec ต่างๆแล้ว ข้อมูลที่สำคัญอย่างหนึ่งคือ ความถี่ของการทำ Preventive Maintenance และ Next Maintenance ข้อมูลนี้ประกอบกับ Maintenance Request ของอุปกรณ์นี้ที่เป็นแบบ Preventive จะเป็นตัว trigger ให้สร้าง Preventive Maintenance Request ครั้งต่อไป

Note: ดั้งนั้นจะเห็นได้ว่ารอบความถี่กำหนดได้ค่าเดียว ระบบไม่น่าจะสามารถทำ Preventive Maintenance ได้หลายหลาย อาจยังไม่เหมาะกับการทำ Maintenance ที่มีความซับซ้อน ในอนาคตเราจะได้หาโมดูลอื่นที่ยืดหยุ่นกว่านี้มาแจ้งให้ทราบต่อไป

3. Maintenance Request

ถือเป็น Transaction หลักของโมดูลนี้ โดย Maintenance Request จะมีขึ้นต่อ Equipment ตัวหนึ่ง และนอกจากรายละเอียดการทำงานแล้ว จะบอกด้วยว่าเป็นประเภท Corrective หรือ Preventive และหากมีการกำหนด Scheduled Date ที่จะทำงานแล้วจะแสดงผลใน Calendar ด้วย

4. Scheduler

Automatic Scheduler ใช้สำหรับสร้าง Preventive Maintenance Request ตามรอบล่วงหน้า จากที่ได้อธิบายได้ก่อนหน้า Scheduler จะถูกกำหนดไว้ตามรูป

บทสรุปส่งท้าย: โมดูลนี้สามารถใช้งานแบบง่ายๆได้ ใช้เพื่อติดตามการดูแลรักษาเครื่องจักรที่ไม่มีความซับซ้อนมากนัก ตัวโมดูลเองไม่มีความสัมพันธ์เรื่องการเงิน หรือต้นทุนการทำงานใดๆกับโมดูลอื่นๆ การคุมต้นทุนการทำงานจะต้องใช้งานร่วมกับโมดูล Time Sheet


Ecosoft - Your ERP Partner เราเชื่อใน Open Source เพราะเราเชื่อว่า Source Code ควรถูกเปิดเผยเพื่อให้ทุกคนได้เรียนรู้และนำไปต่อยอดได้ไม่จำกัด เราจึงไม่หยุดพัฒนาตัวเองเพื่อเป็นผู้เชี่ยวชาญใน Software Engineering, Business Process และ Accounting ติดตาม Contributions ของเรากับ OCA ได้ที่ https://odoo-community.org/shop?search=Ecosoft

by Kitti U.

Back to Blog