· case study · 1 min read

Thai Payroll สำหรับ Frappe HRMS

ระบบ Frappe HRMS รองรับการคำนวนภาษีแบบไทยตามระเบียบกรมสรรพากรแล้ว

ระบบ Frappe HRMS รองรับการคำนวนภาษีแบบไทยตามระเบียบกรมสรรพากรแล้ว

Frappe HRMS คือระบบ Human Resource จาก Frappeverse Solutions ที่ค่อนข้างครบถ้วนสมบูรณ์สำหรับการจัดการด้านทรัพยากรมนุษย์ ประกอบไปด้วย 6 โมดูลใหญ่ๆคือ

  1. Recuitment
  2. Employee Lifecycle
  3. Attendance & Leave Management
  4. Expense Claim
  5. Performance Appraisal
  6. Payroll

จากทั้งหมดนี้ โมดูลที่ต้องมีการปรับแต่งให้สอดคล้องกับบริบทประเทศไทยหนีไม่พ้นโมดูลเงินเดือน (Thai Payroll) ด้วยต้องทำตามหลักการภาษีและการลดหย่อยภาษีตามระเบียบกรมสรรพากร https://www.rd.go.th/59674.html

ข่าวดีคือ Thai Payroll by Ecosoft ก็พร้อมแล้วสำหรับการใช้งาน

จากประสบการณ์ในการทำงานด้าน Payroll ให้กับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนของเรา และได้ศึกษา Payroll แบบ open source มาหลายตัวรวมทั้งของ Odoo ด้วย จนได้ลองศึกษาการทำงานของ Payroll ใน Frappe เราพบว่าระบบ Frappe มีส่วนประกอบในการปรับแต่งการคำนวนภาษีที่ละเอียดและยืดหยุ่นมากที่สุด ทำให้เราสามารถพัฒนา Payroll version Thailand ได้โดยไม่ต้องปรับแต่งแกนหลักในการคิดเงินเดือน (Salary Structure Components) เพียงแต่ต้องเข้าใจการทำงานของมันและเน้นพัฒนาหน้าจอการใช้งานง่ายและเพิ่มเกณฑ์การคำนวนตามหลักการของกรมสรรพากร

ภาพรวมขององค์ประกอบ (Doctype) สำหรับระบบ Payroll

จากภาพ Diagram ด้านซ้ายคือส่วนที่เกี่ยวข้องกับการตั้งค่า โดยเอกสารที่สำคัญสุดคือการกำหนดเงินเดือนพนักงาน (Salary Structure Assignment) ซึ่งเป็นข้อมูลที่บอกว่า พนักงานแต่ละคนได้รับ (1) เงินเดือนเท่าไหร่ (2) ใช้วิธีการคำนวนด้วยโครงสร้างการคำนวนเงินเดือนแบบใด (Salary Structure & Salary Components) และ (3) อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามขั้นบันได (Income Tax Slab)

เอกสารเพื่อการกำหนด Salary Structure Assignment สำหรับ Employee

ส่วนกล่องด้านขวาคือสิ่งที่ต้องทำ ตามรอบปีและรอบเดือน เพื่อคำนวนเงินเดือนภาษี เงินเดือน และออก Salary SLip โดยที่

  1. ปีละครั้ง ให้พนักงานกรอกเอกสารลดหย่อนภาษี
  2. เดือนละครั้ง ในการสร้าง Payroll Entry เพื่อสร้าง Salary Slips

โครงสร้างเงินเดือน Salary Structure & Components

ในแต่ละหน่วยงาน และแต่ละกลุ่มพนักงาน เราอาจมีการกำหนดโครงสร้างเงินเดือนได้แตกต่างกัน แต่ละโครงสร้างเงินเดือนจะประกอบไปด้วย ส่วนรับ (earning) และส่วนหัก (deduction) โดยทั้งสองส่วนจะสามารถกำหนดลึกลงไปได้ถึงสมการในการคิดเงิน

อัตราภาษี Income Tax Slab ตามข้อกำหนดกรมสรรพากร

อัตราภาษียกมาจากข้อกำหนดของกรมสรรพากร โดยอาจมีการอัพเดทในแต่ละปีเมื่อมีการประกาศเปลี่ยนแปลง

เอกสาร ลย. 01 ซึ่งเป็นแบบฟอร์มสำหรับส่งให้พนักงานกรอกตอนต้นปี

ลย. 01 หรือเอกสาร Lor Yor 01 ในระบบ เป็นส่วนเพิ่มโดยเฉพาะสำหรับ Thai Payroll เพื่อให้เป้นเอกสารที่พนักงานสามารถเข้ามากรอกเองได้โดยง่าย โดยจะมีข้อมูลที่สอดคล้องกับฟอร์ม ลย. 01 ของกรมสรรพากร https://www.rd.go.th/fileadmin/tax_pdf/withhold/loryor01_290362.pdf

การคำนวนการลดหย่อนด้วยเอกสาร Employee Tax Exemption Declaration จาก ลย. 01

หลังจากได้ข้อมูลการขอหักลดหย่อนจากพนักงาน ระบบจะสร้างการลดหย่อนที่คำนวนได้ (Tax Exemption Calculation) โดยอิงจากหลักการของกรมสรรพการ และการคาดการณ์เงินได้ทั้งปีและกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

ตัวอย่างเอกสาร Salary Slip ที่ออกจากระบบในแต่ละเดือน

หลักจากกำหนดทุกอย่างเรียบร้อย ระบบจะสามารถคำนวนเงินเดือนในทุกๆเดือนได้อย่างอัตโนมัติ รวดเร็วและง่ายดาย และส่ง Salary Slip เป้น PDF ให้กับพนังงานทางอีเมล์ เป็นต้น

บทสรุป

ในบทความนี้เรายังไม่ได้ลงรายละเอียดของแต่ละฟังก์ชั่นการทำงาน เพียงแต่ให้เห็นภาพรวม และแสดงให้เห็นว่าระบบ Payroll ของ Frappe มีความยืดหยุ่นสูง และสามารถใช้การคำนวนภาษีไทยได้เป็นอย่างดี ด้วยการปรับแต่งระบบเพียงเล็กน้อย

โดย Kitti U.

Back to Blog