· documentation · 3 min read

การทำภาษีหัก ณ ที่จ่าย (Withholding Tax) ในระบบ Odoo13

การตั้งค่า บันทึกรายการและการออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย บนระบบ Odoo13

การตั้งค่า บันทึกรายการและการออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย บนระบบ Odoo13

ในระบบ odoo มาตรฐานจะมีการรองรับ withholding tax อยู่แล้ว แต่ไม่ครอบคลุมกับการทำภาษีหัก ณ ที่จ่ายของประเทศไทย ดังนั้นจึงต้องมีการติดตั้ง module เพิ่มเติม ซึ่ง module ที่จำเป็นในการออกภาษี ณ ที่จ่ายจะมีอยู่ 3 module ได้แก่

  1. Withholding Tax
  2. Withholding Tax Cert
  3. Withholding Tax Cert Form ส่วนที่เหลือจะเป็นส่วนที่เพิ่มเติมขึ้นมา ใช้สำหรับบางกรณี อาจจะติดตั้งหรือไม่ก็ได้

การตั้งค่า / สร้างเอกสารภาษีหัก ณ ที่จ่าย

เมื่อติดตั้ง module Withholding Tax และ Withholding Tax Cert เสร็จสิ้น ระบบจะสามารถตั้งค่าเลือก Account ที่ต้องการให้เป็น Withholding Tax ได้ เผื่อกรณีที่ต้องการให้ระบบหักภาษี ณ ที่จ่ายแบบอัตโนมัติ โดยมีวิธีดังนี้ (Optional)

  1. ไปที่เมนู Invoicing > Configuration > Accounting > Chart of Accounts

  2. เลือก Account ที่ต้องการให้ทำเป็น Withholding Tax > ติ๊กถูกที่ Field WT Account WHT

  3. ไปที่เมนู Invoicing > Configuration > Invoicing > Withholding Tax

  4. สร้างเอกสารใหม่ แล้วกำหนดค่าต่าง ๆ ที่ต้องการหักภาษี > Save WHT

  • Name : ชื่อที่จะแสดง
  • Amount : ร้อยละที่ต้องการหักภาษี
  • Withholding Tax Account : account ที่เป็น withholding tax เท่านั้น (กำหนดจากข้อ 2) ในกรณีที่ต้องการให้ระบบคำนวณภาษี เมื่อเลือกสินค้าที่ต้องการ สามารถตั้งค่าได้ดังนี้ ไปที่เมนู Invoicing > Vendors > Products เลือก Product ที่ต้องการหักภาษี ณ ที่จ่าย คลิก Purchase Tab > เลือก Withholding Tax > Save

หมายเหตุ : หากไม่เลือก WT Account ระบบไม่คำนวณการหักภาษี ณ ที่จ่ายให้อัตโนมัติ แต่สามารถให้ผู้ใช้งานเป็นคนกรอกข้อมูลในส่วนนี้ได้


ขั้นตอนการทำภาษีหัก ณ ที่จ่ายในระบบ

กระบวนการทำภาษีหัก ณ ที่จ่ายสามารถทำได้ที่หน้า Payment กับ Journal Entries (สร้างตรง) กรณีที่มีการทำภาษีหัก ณ ที่จ่ายมากกว่า 1 บรรทัดในเอกสาร 1 ใบ จะต้องติดตั้ง module Withholding Tax Multi เพื่อให้ระบบสามารถทำภาษีได้มากกว่า 1

การทำภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่หน้า Payment

สามารถให้ระบบคำนวณให้อัตโนมัติ หรือจะคำนวณเองก็ได้ ถ้าต้องการคำนวณเองไม่ต้องทำข้อ 3 และ 4 ซึ่งขั้นตอนการคำนวณภาษีที่หน้า Payment จะมีดังนี้

  1. ไปที่เมนู Invoicing > Vendors > Bills

  2. สร้างเอกสารที่ทำการซื้อและมีภาษีหัก ณ ที่จ่าย

  3. คลิกที่ 3 จุดตรง Invoice Lines > แสดง WT WHT

  4. เลือก WT ที่ต้องการจากการตั้งค่าก่อนหน้านี้ ในกรณีที่มีการตั้งค่า Withholding Tax ใน Product นั้น ระบบจะเลือก WT ให้อัตโนมัติ

  5. Save > Post > Register Payment

  6. ระบบจะคำนวณตัวเลขให้อัตโนมัติ ในกรณีที่คำนวณเองให้ใส่จำนวนหลังหักภาษีที่ช่อง Amount และส่วนต่างให้เลือก Account Withholding Tax

    • กรณีที่ Invoices มีภาษีหัก ณ ที่จ่ายตัวเดียว ระบบจะเลือก Mark invoice as fully paid WHT

    • กรณีที่ Invoices มีภาษีหัก ณ ที่จ่ายมากกว่า 1 และติดตั้ง module Withholding Tax Multi ระบบจะเลือก Mark invoice as fully paid (multi deduct) หากต้องการคำนวณเองแบบมี Withholding Tax มากกว่า 1 สามารถทำได้โดยการติดตั้ง module https://github.com/OCA/account-payment/tree/13.0/account_payment_multi_deduction แทน module Withholding Tax Multi WHT WHT

  7. Validate

  8. ไปที่เมนู Invoicing > Vendors > Payments > เลือกเอกสารที่ทำรายการ

  9. คลิกปุ่ม Action > Create Withholding Tax Cert. WHT

  10. ระบบจะเลือก Account Withholding Tax ให้อัตโนมัติ ในกรณีที่มีการตั้งค่าไว้ แต่ถ้าไม่มีผู้ใช้งานจะต้องเลือก Account เอง > Create

  11. ระบบจะสร้างภาษีหัก ณ ที่จ่ายให้ แล้วให้ผู้ใช้งานกรอกข้อมูลในส่วนที่ต้องการให้ครบ กดปุ่ม Save เพื่อบันทึก และ Done เพื่อจบการทำงาน WHT

การทำภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่หน้า Journal Entries

ในบางครั้งอาจมีกรณีที่มีภาษีหัก ณ ที่จ่าย โดยที่ไม่ได้มาจาก Vendor Bills ก็สามารถทำได้ แต่ระบบจะไม่มีการคำนวณให้อัตโนมัติ โดยจะมีขั้นตอนดังนี้

  1. ไปที่เมนู Invoicing > Accounting > Miscellaneous > Journal Entries
  2. สร้าง / เลือก เอกสารที่มี Journal Type เป็น Miscellaneous เท่านั้น
  3. คลิกปุ่ม Action > Create Withholding Tax Cert.
  4. เลือก Account Withholding Tax > Create
  5. ระบบจะสร้างภาษีหัก ณ ที่จ่าย ผู้ใช้งานกรอกข้อมูลในส่วนที่ต้องการให้ครบ
  6. Save > Done

การออก Withholding Tax Cert ทดแทนใบเดิม

ระบบสามารถออก Withholding Tax Cert ใบใหม่ทดแทนเอกสารใบเดิมได้ โดยมีขั้นตอนดังนี้

  1. สร้างเอกสารใหม่ที่ถูกต้องและทำ Withholding Tax แบบปกติ
  2. คลิกปุ่ม Action > Create Withholding Tax Cert.
  3. เลือก Substitute > เลือกเอกสาร Withholding Tax ใบที่ผิดพลาด โดยจะต้องมีสถานะเป็น Done เท่านั้น > Create
  4. ระบบจะสร้างภาษีหัก ณ ที่จ่าย ผู้ใช้งานกรอกข้อมูลในส่วนที่ต้องการให้ครบ
  5. Save > เมื่อคลิกปุ่ม Done ระบบจะไปยกเลิกเอกสารใบเก่าให้

การเรียกดูเอกสาร Withholding Tax สามารถดูได้ที่เมนู Invoicing > Vendors > WT Certificates ซึ่งการทำที่หน้า Payment หรือ Journal Entries ในระบบจะออกเอกสารที่เดียวกัน


การออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (ใบ 50 ทวิ)

หลังจากทำภาษีหัก ณ ที่จ่ายในระบบเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะต้องมีการยื่นหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (ใบ 50 ทวิ) ให้กรมสรรพกร ซึ่งในระบบ Odoo จะใช้ฟอร์มมาตรฐานที่ทางสรรพกรกำหนด โดยมีขั้นตอนดังนี้

  1. ติดตั้ง module Withholding Tax Cert Form จาก source code ด้านบน
  2. ไปที่เมนู Invoicing > Vendors > WT Certificates
  3. เลือกเอกสารที่ต้องการออกหนังสือรับรอง > คลิกปุ่ม Print > Withholding Cert (pdf) เมื่อ Print Withholding Tax Cert ที่มีสถานะยกเลิก (State ‘Cancelled’) ระบบจะแสดงข้อความ “ยกเลิก” คาดกลางเอกสาร WHT เมื่อ Print Withholding Tax Cert ที่เป็นใบทดแทนใบเดิมจะมีข้อความด้านบนขวากำกับว่า “ออกแทนเอกสารเลขที่ …’ WHT

การออกรายงานการหักภาษี ณ ที่จ่าย

สำหรับผู้บริหาร หรือนักบัญชีที่ต้องการดูรายละเอียดการทำรายการภาษีหัก ณ ที่จ่าย สามารถทำได้โดยมีขั้นตอนดังนี้

  1. ติดตั้ง module Withholding Tax Report จาก source code ด้านบน
  2. ไปที่เมนู Invocing > Reporting > WT Income Tax Report
  3. เลือกประเภทเอกสารที่ต้องการดู (ปัจจุบันรองรับเฉพาะ PND3, PND53 เท่านั้น) และช่วงเวลา
  4. เลือกประเภทรายงานที่ต้องการ โดยจะมีอยู่ 4 ประเภทคือ
  • View : แสดงข้อมูลในระบบ Odoo
  • Export PDF : แสดงข้อมูลเป็นไฟล์ PDF
  • Export XLSX : แสดงข้อมูลเป็นไฟล์ XLSX
  • Export TXT : แสดงข้อมูลเป็นไฟล์ TEXT WHT หมายเหตุ รายงานที่เป็น Text File ในส่วนของ ที่อยู่ จะออกตามการตั้งค่าในระบบ โดยสามารถแก้ไขได้ที่เมนู Contacts > Configuration > Localization > Countries > Layout in Reports WHT

ในส่วนของการทำภาษีหัก ณ ที่จ่ายด้วยระบบ Odoo สำหรับประเทศไทยจะมีหลักการและขั้นตอนประมาณนี้ หากผู้อ่านมี idea ที่เหมาะสมสำหรับการพัฒนาการทำงานให้ดีขึ้น สามารถเสนอ และเปิด Issue ใหม่ได้ที่ https://github.com/OCA/l10n-thailand/issues

End.

by Saran Lim.

Back to Blog